วันศุกร์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ประวัติอาหารไทย

   อาหารไทย เป็นอาหารประจำของประเทศไทย ที่มีการสั่งสมและถ่ายทอดมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่อดีต จนเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ ถือได้ว่าอาหารไทยเป็นวัฒนธรรมประจำชาติที่สำคัญของไทย อาหารที่ขึ้นชื่อที่สุดของคนไทย คือ น้ำพริกปลาทู พร้อมกับเครื่องเคียงที่จัดมาเป็นชุด
images
   จากผลการสำรวจ 50 อาหารที่อร่อยที่สุดในโลกปี 2554 โดย ซีเอ็นเอ็น (CNN) ผลปรากฏว่า อาหารไทยติดหลายอันดับ ได้แก่ ส้มตำ อันดับที่ 46, น้ำตกหมู อันดับที่ 19, ต้มยำกุ้ง อันดับที่ 8 และ แกงมัสมั่น ติดอันดับที่ 1
   จุดเด่น
   คนไทยบริโภคข้าวเป็นอาหารหลัก โดยนิยมกัน 2 ชนิดคือ ข้าวเหนียวและข้าวเจ้า คนไทยภาคอีสานและภาคเหนือนิยมกินข้าวเหนียวเป็นหลัก ส่วนคนไทยภาคกลางและภาคใต้นิยมกินข้าวเจ้าเป็นหลัก ประเทศไทยที่ผูกพันกับสายน้ำเป็นหลัก ทำให้อาหารประจำครัวไทยประกอบด้วยปลาเป็นหลัก ทั้ง ปลาย่าง ปลาปิ้ง จิ้มน้ำพริก กินกับผักสดที่หาได้ตามหนองน้ำ ชายป่า หากกินปลาไม่หมดก็สามารถนำมาแปรรูปให้เก็บไว้ได้นาน ๆ ไม่ว่าจะเป็นปลาแห้ง ปลาเค็ม ปลาร้า ปลาเจ่า
   อาหารรสเผ็ดที่ได้จากพริกนั้น ไทยได้รับนำมาเป็นเครื่องปรุงมาจากบาทหลวงชาวโปรตุเกส ในสมัยพระนารายณ์ ส่วนอาหารประเภทผัดไฟแรง ได้รับมาจากชาวจีนที่อพยพมาอยู่ในเมืองไทยในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์
   เมื่อมีการเลี้ยงสัตว์ขายเป็นอาชีพและมีโรงฆ่าสัตว์ ทำให้มีการหาเนื้อสัตว์มารับประทานมากขึ้น มีการใช้เครื่องเทศหลากชนิดเพื่อช่วยดับกลิ่นคาวของเนื้อที่นำมาปรุงเป็นอาหาร เครื่องเทศที่คนไทยนิยมนำมาปรุงอาหารประเภทนี้เช่น ขิง กระชาย ที่ดับกลิ่นคาวปลามานาน ก็นำมาประยุกต์กับเนื้อสัตว์ประเภทวัว ควาย เป็นสูตรใหม่ของคนไทย
   จุดกำเนิดอาหารไทยมีจุดกำเนิดพร้อมกับการตั้งชนชาติไทย และมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนถึงปัจจุบัน จากการศึกษาของ อาจารย์กอบแก้ว นาจพินิจ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต เรื่องความเป็นมาของอาหารไทยยุคต่างๆ สรุปได้ดังนี้
   สมัยสุโขทัย อาหารไทยในสมัยสุโขทัยได้อาศัยหลักฐานจากศิลาจารึก และวรรณคดี สำคัญคือ ไตรภูมิพระร่วงของพญาลิไท ที่ได้กล่าวถึงอาหารไทยในสมัยนี้ว่า มีข้าวเป็นอาหารหลัก โดยกินร่วมกับกับเนื้อสัตว์ ที่ส่วนใหญ่ได้มาจากปลา มีเนื้อสัตว์อื่นบ้าง การปรุงอาหารได้ปรากฏคำว่า “แกง” ใน ไตรภูมิพระร่วงที่เป็นที่มาของคำว่า ข้าวหม้อแกงหม้อ ผักที่กล่าวถึงในศิลาจารึก คือ แฟง แตงและน้ำเต้า ส่วนอาหารหวานก็ใช้วัตถุดิบพื้นบ้าน เช่น ข้าวตอกและน้ำผึ้ง ส่วนหนึ่งนิยมกินผลไม้แทนอาหารหวาน
   สมัยธนบุรี จากหลักฐานที่ปรากฏในหนังสือแม่ครัวหัวป่าก์ ซึ่งเป็นตำราการทำกับข้าวเล่มที่ 2 ของไทย ของท่านผู้หญิงเปลี่ยน ภาสกรวงษ์ พบความต่อเนื่องของวัฒนธรรมอาหารไทยจากกรุงสุโขทัยมาถึงสมัยอยุธยา และสมัยกรุงธนบุรี และยังเชื่อว่าเส้นทางอาหารไทยคงจะเชื่อมจากกรุงธนบุรีไปยังสมัยรัตนโกสินทร์ โดยผ่านทางหน้าที่ราชการและสังคมเครือญาติ และอาหารไทยสมัยกรุงธนบุรีน่าจะคล้ายคลึงกับสมัยอยุธยา แต่ที่พิเศษเพิ่มเติมคือมีอาหารประจำชาติจีน
   สมัยอยุธยา สมัยนี้ถือว่าเป็นยุคทองของไทย ได้มีการติดต่อกับชาวต่างประเทศมากขึ้นทั้งชาวตะวันตกและตะวันออก จากบันทึกเอกสารของชาวต่างประเทศ พบว่าคนไทยกินอาหารแบบเรียบง่าย ยังคงมีปลาเป็นหลัก มีต้ม แกง และคาดว่ามีการใช้น้ำมันในการประกอบอาหารแต่เป็นน้ำมันจากมะพร้าวและกะทิมากกว่าไขมันหรือน้ำมันจากสัตว์มาทำอาหารอยุธยามีเช่น หนอนกะทิ วิธีทำคือ ตัดต้นมะพร้าว แล้วเอาหนอนที่อยู่ในต้นนั้นมาให้กินกะทิแล้วก็นำมาทอดก็กลายเป็นอาหารชาววัง</nowiki>ขึ้น คนไทยสมัยนี้มีการถนอมอาหาร เช่นการนำไปตากแห้ง หรือทำเป็นปลาเค็ม มีอาหารประเภทเครื่องจิ้ม เช่นน้ำพริกกะปิ นิยมบริโภคสัตว์น้ำมากกว่าสัตว์บก โดยเฉพาะสัตว์ใหญ่ ไม่นิยมนำมาฆ่าเพื่อใช้เป็นอาหาร ได้มีการกล่าวถึงแกงปลาต่างๆ ที่ใช้เครื่องเทศ เช่น แกงที่ใส่หัวหอม กระเทียม สมุนไพรหวาน และเครื่องเทศแรงๆ ที่คาดว่านำมาใช้ประกอบอาหารเพื่อดับกลิ่นคาวของเนื้อปลา หลักฐานจากการบันทึกของบาทหลวงชาวต่างชาติที่แสดงให้เห็นว่าอาหารของชาติต่าง ๆ เริ่มเข้ามามากขึ้นในสมเด็จพระนารายณ์ เช่น ญี่ปุ่น โปรตุเกส เหล้าองุ่นจากสเปนเปอร์เซีย และฝรั่งเศส สำหรับอิทธิพลของอาหารจีนนั้นคาดว่าเริ่มมีมากขึ้นในช่วงยุคกรุงศรีอยุธยาตอนปลายที่ไทยตัดสัมพันธ์กับชาติตะวันตก ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่าอาหารไทยในสมัยอยุธยา ได้รับเอาวัฒนธรรมจากอาหารต่างชาติ โดยผ่านทางการมีสัมพันธไมตรีทั้งทางการทูตและทางการค้ากับประเทศต่างๆ และจากหลักฐานที่ปรากฏทางประวัติศาสตร์ว่าอาหารต่างชาติส่วนใหญ่แพร่หลายอยู่ในราชสำนัก ต่อมาจึงกระจายสู่ประชาชน และกลมกลืนกลายเป็นอาหารไทยไป ในที่สุด
   สมัยรัตนโกสินทร์ การศึกษาความเป็นมาของอาหารไทยในยุครัตนโกสินทร์นี้ได้จำแนกตามยุคสมัยที่นักประวัติศาสตร์ได้กำหนดไว้ คือ ยุคที่ 1 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลที่ 3 และยุคที่ 2 ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน
   อาหารชาววัง อาหารชาววัง หรือ กับข้าวเจ้านาย คืออาหารที่ประดิษฐ์คิดค้นโดยผู้คนในรั้ววัง มีอัตลักษณ์ที่สำคัญคือ ความอุดมสมบูรณ์และความสดใหม่ของวัตถุดิบในการประกอบอาหาร มีกรรมวิธีในการทำซับซ้อน ประณีต ต้องใช้เวลาและกำลังผู้คนในการทำจำนวนมาก มีลักษณะความแปลกแตกต่าง ความวิจิตรบรรจง รวมถึงมีรสชาติที่นุ่มนวลไม่เผ็ดมาก มีความกลมกล่อมเป็นหลัก องค์ประกอบของอาหารชาววัง ในแต่ละมื้อจะประกอบด้วยอาหารที่มีความหลากหลาย ในสมัยรัชกาลที่ 5 มีประเภทอาหารอย่างน้อยที่สุด 7 ประเภท คือ ข้าวเสวย เครื่องคาว เครื่องเคียงแกง เครื่องเคียงแขก เครื่องเคียงจิ้ม เครื่องเคียงเกาเหลา เครื่องหวาน อาหารมีครบรส คือ เปรี้ยว หวาน มัน เค็ม เผ็ด อาหารชาววังแตกต่างจากอาหารชาวบ้านคือ การจัดอาหารเป็นชุด หรือ สำรับอาหาร
   จากหลักฐานอ้างอิงเดอ ลาลูแบร์ จดบันทึกไว้ว่า อาหารชาววัง คือ อาหารชาวบ้าน แต่มีการนำเสนอที่สวยงาม ไม่มีก้าง ไม่มีกระดูก ต้องเปื่อยนุ่ม ไม่มีของแข็ง ผักก็ต้องพอคำ หากมีเมล็ดก็ต้องนำออก ถ้าเป็นเนื้อสันก็เป็นสันใน กุ้งก็ต้องกุ้งแม่น้ำไม่มีหัว ไม่ใช้ของหมัก ๆ ดอง ๆ หรือของแกงป่า หรือของอะไรที่คาว
url

วันจันทร์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2560

ลักษณะของอาหารไทยแต่ละภาค

ลักษณะอาหารไทย4ภาค


   ภาคเหนือ
   ลักษณะนิสัยที่ค่อนข้างเยือกเย็น สุขุมและสุภาพเรียบร้อย นับเป็นสิ่งที่สะท้อนออกมาให้เห็นถึง อาหารที่เป็นเอกลักษณ์ของคนภาคเหนือ ไม่ว่าจะเป็นข้าวเหนียว ซึ่งเป็นอาหารหลัก น้ำพริกอ่อง ซึ่งดูจะไม่เผ็ดมากนัก ตลอดจนกรรมวิธีถนอมอาหารอันแยบยล ที่ออกมา ในรูปแบบของแหนม หมูยอ แคบหมู และที่เป็นพิเศษจริง ๆ คือ อาหารจำพวกของสด เช่น ลาบสดที่ดูเหมือนจะเป็นมรดกทาง วัฒนธรรมทางอาหารของต้นตระกูลไทยที่แท้จริง
   ภาคกลาง
   ภาคกลางนับเป็นแหล่งเกษตรกรรมอาหารที่สำคัญของประเทศไทย โดยเฉพาะเป็นแหล่งเพาะปลูกข้าวเจ้าแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งในโลก เนื่องจากภาคกลางเป็นที่ราบลุ่ม อาหารหลักส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วย ข้าว1จาน แกงต่างๆ ต่างๆ อาทิ แกงกะหรี่ มัสมั่น หรือ เขียวหวาน ตลอดจนยำประเภทแซบๆ คอ จำพวกต้มยำกุ้งหรือปลา อีกทั้งอาหารผัดผัก และยำต่างๆ แต่สิ่งที่ขาดไม่ได้สำหรับคนไทย ก็คืออาหารจำพวกน้ำพริก ไม่ว่าจะเป็นน้ำพริกกะปิ น้ำพริกปลาทู ฯลฯ
   ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
   ภาคอีสานอาจจะร่ำรวยเรื่องอารยะธรรม วัฒนธรรมซึ่งสั่งสมกันมานานนับหลายพันปี อาหารอีสาน เป็นอาหาอีกประเภทหนึ่งซึ่งกล่าว ได้ว่ามีชื่อเสียง และรสชาติที่ล้ำลึก และอาจกล่าวได้ว่าเป็นอาหารที่ฮิตติดปากคนไทยมากที่สุด และสามารถรับประทานได้ทุกเวลาทุกสถานที่ ไม่ว่าจะเป็น ส้มตำ ไก่ย่าง ข้างเหนียว ลาบ ซกเล็ก ต้มแซบ เสือร้องไห้ เนื้อแดดเดียว ตลอดจนอาหารสำรับประเภทที่เรียกกัน ว่า ข้างพาแลง อันมี ปลานึ่ง ผักต้ม และน้ำพริกแจ่ว เป็นอาหารหลักสำคัญที่ทำให้อาหารทั้งภูมิภาคนี้มีชื่อเสียงติดใจทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติ
   ภาคใต้
   ประชาชนในจังหวัดภาคใต้เป็นที่รู้จักกันดีว่า ใจคอหนักแน่น พูดเร็ว เดินเร็ว และทำเร็ว อาหารปักษ์ใต้จึงเป็นสิ่งที่สะท้อนลักษณะ ของพวกเขาได้อย่างชัดเจนในเรื่องของรสชาติอาหารที่ เผ็ดจัด เค็มจัด ตลอดจนเปรี้ยวจัด อาหารปักษ์ใต้ที่ขึ้นชื่อลือชาอย่างมาก ๆ คือ แกงไตปลา แกงเหลือง น้ำพริก กุ้งเสียบ น้ำบูดู น้ำยาปักษ์ใต้ ตลอดจนอาหารปักษ์ใต้ที่ได้รับอิทธิพลมาจากพวกมาลายู และ อินเดีย จำพวกอาหารอิสลาม และกับข้าวสำรับที่เรียกว่า หมรับ นอกจากนั้นอาหารปักษ์ใต้ในทุกมื้อยังประกอบไปด้วยผักสดที่สำคัญ โดยเฉพาะพืชตระกูลถั่วจำพวกสะตอ หรือลูกเนียงที่จะเป็นต้องติดไว้ในอาหารแทบทุกมื้อ


มาตรฐาน

10 อันดับอาหารไทยยอดนิยม




10 อันดับอาหารไทยยอดนิยม

  อันดับที่ 1 
  ผัดไทย ของโปรดของใครหลายคนที่ถือเป็นอาหารประจำชาติกันเลยทีเดียว (แค่ชื่อก็บ่งบอกแล้ว)



 อันดับที่ 2 แกงเขียวหวานไก่ อาหารจานเด็ดที่ประยุกต์ให้รับประทานได้กับหลากหลายเมนู



อันดับที่ 3 ต้มข่าไก่ รสชาติและกลิ่นอันหอมหวลที่ใครก็ยากจะปฏิเสธ 



  อันดับที่ 4 ต้มยำกุ้ง สุดยอดอาหารไทยที่รู้จักทั่วโลก ดังขนาดต้องเอาไปตั้งชื่อหนังขายฝรั่ง 



อันดับที่ 5 ต้มยำไก่ อาหารจานเด็ดอีกรายการที่ถูกลิ้นถูกใจคนค่อนโลก




อันดับที่ 6 พะแนง หวาน ๆ มัน ๆ เผ็ดเล็กน้อย พอปะแล่มลิ้น




อันดับที่ 7 หมูสะเต๊ะ อันหอมหวานพอดีลิ้น


อันดับที่ 8 ส้มตำ อาหารอีสานคลาสสิกที่ไม่มีใครไม่รู้จัก


อันดับที่ 9 ไก่ผัดเม็ดมะม่วงหิมพานต์ อาหารระดับตำนานอีกจานของเมืองไทย




อันดับที่ 10 ปอเปี๊ยะทอดสุดอร่อย

ผัดไทย

ผัดไทย


Phat Thai kung Chang Khien street stall.jpg


ประวัติ

ผัดไทยเป็นอาหารที่ได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนเดิมเรียกอาหารชนิดนี้ว่า "ก๋วยเตี๋ยวผัด" และได้รับการเปลี่ยนแปลงด้านรสชาติใหม่ตามอย่างอาหารไทยมากขึ้นในเวลาต่อมา
ผัดไทยได้กลายเป็นที่รู้จักของคนต่างชาติในสมัยจอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นซึ่งเป็นช่วงเดียวกับสงครามโลกครั้งที่ 2 ท่านได้รณรงค์ให้ประชาชนหันมานิยมรับประทานก๋วยเตี๋ยว เพื่อลดการบริโภคข้าวภายในประเทศ เนื่องจากในช่วงนั้นสภาวะเศรษฐกิจของประเทศตกต่ำ ข้าวแพง
แต่เพราะกระแสชาตินิยมที่มองว่าก๋วยเตี๋ยวเป็นอาหารจีนจึงได้รังสรรค์ให้ผัดไทยเป็นอาหารไทย ทั้งนี้ผัดไทยในยุคนั้นจะไม่มีหมูเป็นส่วนประกอบ เพราะมองว่าหมูเป็นอาหารของคนจีน และเรียกเปลี่ยนชื่อ "ก๋วยเตี๋ยวผัด" เป็น "ก๋วยเตี๋ยวผัดไทย" ตามชื่อใหม่ของประเทศ ปัจจุบันเรียกกันโดยย่อเหลือเพียงแค่ "ผัดไทย"
ปัจจุบันผัดไทยได้กลายเป็นหนึ่งในอาหารประจำชาติไทย
ในเวียดนามมีอาหารที่ใกล้เคียงกันเรียกว่า เฝอส่าว (เวียดนามphở xào) หรือ บั๊ญเฝอส่าว (bánh phở xào) แปลว่า "เฝอผัด"

ลักษณะ

ผัดไทยโดยทั่วไปจะนำเส้นเล็กมาผัดด้วยไฟแรงกับไข่ ใบกุยช่ายสับ ถั่วงอก หัวไชโป๊สับ เต้าหู้เหลือง ถั่วลิสงคั่ว และกุ้งแห้ง ปรุงรสด้วยพริก น้ำปลา และน้ำตาล เสิร์ฟพร้อมกับมะนาว ใบกุยช่าย ถั่วงอกสด และหัวปลีเป็นเครื่องเคียง ร้านผัดไทยบางแห่งจะใส่เนื้อหมูลงไปด้วย บางที่อาจจะใช้เส้นจันท์ซึ่งเหนียวกว่าเส้นเล็ก เรียกว่า "ผัดไทยเส้นจันท์" หรือใช้วุ้นเส้น เรียกว่า "วุ้นเส้นผัดไทย" รวมทั้งผัดหมี่โคราชที่มีลักษณะคล้ายผัดไทย กินกับส้มตำ
นอกจากนี้ยังมีผัดไทยประยุกต์ โดยนำส่วนผสมทุกอย่างผัดให้เข้ากัน แล้วนำไข่เจียวมาห่อผัดไทยทีหลัง เรียกว่า "ผัดไทยห่อไข่" หรือบางที่อาจจะใส่กุ้งสดแทนกุ้งแห้ง เรียกว่า "ผัดไทยกุ้งสด" ร้านขายผัดไทยมักจะขายหอยทอดหรือขนมผักกาดควบคู่กันไปด้วย เนื่องจากเครื่องปรุงที่ใช้มีหลายอย่างใช้ร่วมกัน

ความหลากหลาย

ผัดไทยในแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกันบ้าง อาทิ

วัฒนธรรมสมัยนิยม

  • ภาพยนตร์ไทยเรื่อง เจ้าสาวผัดไทย ใช้ผัดไทยเป็นตัวชูโรงของเรื่อง โดยมีเนื้อหาเกี่ยวกับนางเอกจะแต่งงานกับชายใดก็ตามที่กินผัดไทยของเธอภายใน 100 วัน
  • ตอนหนึ่งของรายการ โทรว์ดาวน์! วิทบอบบี เฟลย์ ในการแข่งขันทำผัดไทย บอบบี เฟลย์ พิธีกรรายการได้แข่งขันกับนงคราญ ดากส์ในร้านไทยเบซิลในเมืองแชนทิลี รัฐเวอร์จิเนีย สหรัฐอเมริกา ซึ่งเฟลย์ได้พ่ายแพ้ในการแข่งขันดังกล่าว


6 สูตรผัดไทย

 1. ผัดไทยกุ้งสด 

          เริ่มกันด้วยเมนูผัดไทยพื้นฐานที่ใครก็ปลื้มกันก่อนเลยกับผัดไทยกุ้งสด ส่วนผสมก็เหมือนการทำผัดไทยทั่ว ๆ ไป เพียงแค่เปลี่ยนจากกุ้งแห้งเป็นกุ้งสด อยากกินกี่ตัวก็ใส่ลงไปให้เต็มเหนี่ยว ปรุงรสด้วยพริกป่น น้ำปลา และน้ำตาลทรายตามชอบเลยค่ะ


 ส่วนผสม ผัดไทย

           ซอสผัดไทย
           กุ้งสด (แกะเปลือกผ่าหลังเอาเส้นดำออก) 3-5 ตัว (ตามชอบ)
           เต้าหู้เหลือง (หั่นเต๋า) 3 ช้อนโต๊ะ
           ไชโป๊ (สับละเอียด) 2 ช้อนโต๊ะ
           ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็ก (หรือเส้นจันท์) แช่น้ำจนนิ่ม
           ถั่วงอกดิบ
           ใบกุยช่าย (หั่นท่อน)
           ไข่ไก่ 1 ฟอง
           น้ำมันพืช (สำหรับผัด)
           ถั่วลิสงคั่วบด (ตามชอบ)
           ผักสด (สำหรับทานคู่)

 ส่วนผสม ซอสผัดไทย

           น้ำตาลปี๊บ 2 ช้อนโต๊ะ
           น้ำมะขามเปียก 2 ช้อนโต๊ะ
           น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
           พริกป่น 1 ช้อนชา (หรือความเผ็ดตามชอบ)

 วิธีทำซอสผัดไทย

           ผสมน้ำตาลปี๊บ น้ำมะขามเปียก น้ำปลา และพริกป่นเข้าด้วยกัน นำขึ้นตั้งไฟพอร้อนและน้ำตาลปี๊บละลายเตรียมไว้ (ถ้าต้องการเก็บไว้หลายวันให้รอจนเดือดแล้วเก็บใส่ภาชนะที่มีฝาปิดมิดชิด)

 วิธีทำผัดไทยกุ้งสด

           1. ใส่น้ำมันพืชลงในกระทะ พอน้ำมันร้อนใส่กุ้งสดลงไปผัดให้โดนความร้อนจนกุ้งเริ่มสุก ตักขึ้นใส่จานเตรียมไว้

           2. ใส่เต้าหู้ลงไปผัดในกระทะใบเดิมพอให้เหลืองหอม ตามด้วยไชโป๊สับ ผัดพอเข้ากัน ใส่น้ำซอสผัดไทยที่เตรียมไว้ลงไปผัดให้เข้ากันจนเริ่มเดือด

           3. ใส่เส้นก๋วยเตี๋ยวที่แช่น้ำแล้วลงไปผัดให้เข้ากันเบา ๆ แล้วใช้ตะหลิวเขี่ยเส้นไปไว้ข้างกระทะ

           4. ตอกไข่ไก่ลงไป ยีให้พอแตก รอจนไข่เริ่มสุกแล้วนำส่วนผสมเส้นมาผัดให้เข้ากัน ตามด้วยกุ้งที่เตรียมไว้ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมผัดสด ถั่วลิสงคั่วบด พริกป่น และมะนาว


​6 สูตรผัดไทย

 2. วุ้นเส้นผัดไทย

          อาหารจานเดียวอย่างผัดไทยสามารถดัดแปลงเส้นก๋วยเตี๋ยวได้ ใครที่เบื่อกับเส้นเล็กแล้วลองเปลี่ยนมาใส่วุ้นเส้นลงไปแทนก็อร่อยเหมือนกัน ขอแนะนำวุ้นเส้นผัดไทย สูตรนี้ใส่น้ำมะขามเปียก มีความหอมของกระเทียมและหอมแดง เมื่อกินวุ้นเส้นกับกุ้งสดตัวโต ๆ แล้วเข้ากันจริงเชียว

 ส่วนผสม วุ้นเส้นผัดไทย

           น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
           หอมแดงสับหยาบ 2 ช้อนโต๊ะ
           กระเทียมสับ 2 ช้อนโต๊ะ
           ไชโป๊
           หวานสับ 3 ช้อนโต๊ะ
           กุ้งสด (ปอกเปลือกผ่าหลัง) 5 ตัว
           เต้าหู้เหลือง (หั่นชิ้นเล็ก) 1/2 ก้อน
           น้ำมะขามเปียก 3 ช้อนโต๊ะ
           น้ำตาลปี๊บ 2 1/2 ช้อนโต๊ะ
           น้ำปลา 4 ช้อนโต๊ะ
           พริกป่น 2 ช้อนชา
           วุ้นเส้น (แช่น้ำจนนุ่ม) 200 กรัม
           น้ำเปล่า 1/2 ถ้วย
           ใบกุยช่าย (หั่นเป็นท่อน) 2 ต้น
           ถั่วงอก
           ถั่วลิสงคั่วบด
           พริกป่น
           มะนาว

 วิธีทำวุ้นเส้นผัดไทย

           1. ใส่นำมันพืชลงในกระทะ นำขึ้นตั้งไฟพอร้อน ใส่หอมแดงและกระเทียมลงผัดจนมีกลิ่นหอม ใส่ไชโป๊สับ กุ้ง และเต้าหู้เหลืองลงผัดจนกุ้งสุก

           2. ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำตาลปี๊บ น้ำปลา และพริกป่น ผัดจนส่วนผสมเข้ากันดีทั้งหมด จากนั้นใส่วุ้นเส้น และน้ำลงผัดจนเส้นสุกนุ่ม ตักเส้นไว้ข้างกระทะ

           3. ตอกไข่ไก่ใส่ลงในกระทะ ยีไข่แดงจนไข่เริ่มสุก ตักส่วนผสมเส้นลงมาผัดรวมกับไข่ จากนั้นใส่ใบกุยช่าย และถั่วงอกลงผัดให้เข้ากันสักครู่ ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมเครื่องปรุง ได้แก่ ถั่วลิสงคั่วบด พริกป่น มะนาว และเครื่องเคียงอย่างถั่วงอกสดและใบกุยช่าย

​6 สูตรผัดไทย

 3. ผัดไทยเกี๊ยวกรอบ

          ใครอยากลองทำผัดไทยสไตล์ใหม่กันบ้างคะ ขอแนะนำผัดไทยเกี๊ยวปูกรอบสูตรจาก คุณ swin สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม สูตรนี้ไม่ใช้เส้นเล็กหรือวุ้นเส้น แต่ใช้เกี๊ยวทอดใส่ไส้ปูมาผัดคลุกเคล้ากับส่วนผสมผัดไทย เท่านั้นยังไม่พอใส่กุ้งสดลงไปอีกด้วย แหม... หน้าตาและสีสันชวนน้ำลายสอมากเลยค่ะ

 ส่วนผสม ผัดไทยเกี๊ยวกรอบ

           แผ่นเกี๊ยวแบบหนา
           เนื้อปู
           หมูสับ
           กุ้งสับ
           กระเทียม
           น้ำพริกแกงผัดไทย (เอามาจากทางใต้ ประกอบไปด้วย หอมแดง พริกชี้ฟ้าแห้ง และน้ำตาลปึก)
           เต้าหู้ทอด
           มะขามเปียก (สำหรับปรุงรส)
           น้ำปลา (สำหรับปรุงรส)
           ถั่วงอก

 วิธีทำผัดไทยเกี๊ยวกรอบ

​6 สูตรผัดไทย

           1. เริ่มจากทำเกี๊ยวปูกรอบโดยผสมเนื้อปูและหมูสับเข้าด้วยกัน นำส่วนผสมไส้ลงไปห่อกับแผ่นเกี๊ยวแบบหนา แล้วนำเกี๊ยวไปทอดให้สุกเหลืองกรอบ เตรียมไว้

​6 สูตรผัดไทย
           2. ทำซอสผัดไทยโดยผัดหอมแดง พริกชี้ฟ้าแห้ง และน้ำตาลปึกเข้าด้วยกัน เตรียมไว้

​6 สูตรผัดไทย

           3. ใส่น้ำมันลงในกระทะ ตามด้วยกุ้งสดผัดกับกระเทียม ใส่พริกแกงผัดไทยลงไป ตามด้วยเต้าหู้ทอดผัดให้เข้ากัน

           4. ปรุงรสด้วยน้ำมะขามเปียกและน้ำปลา ใส่ถั่วงอกลงไป ผัดพอถั่วงอกสุก ใส่เกี๊ยวทอดไปคลุกให้เข้ากัน พร้อมเสิร์ฟ

           ดูวิธีทำเพิ่มเติมได้ที่ ผัดไทยเกี๊ยวกรอบ เมนูแซ่บสไตล์ใหม่ ๆ ไม่เชื่อต้องลอง !

​6 สูตรผัดไทย

 4. ผัดไทยไชยา

          ไม่ต้องเดินทางไปถึงภาคใต้ก็ได้ชิมผัดไทยแบบใต้กันแล้วค่ะ กับผัดไทยไชยาสูตรจาก คุณสมาชิกหมายเลข 1136170 สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม ทำกินเองง่าย ๆ ไร้เนื้อสัตว์ จับเส้นไปผัดกับน้ำผัดไทยสูตรเฉพาะ  ไม่ต้องใส่เครื่องปรุงอะไรเพิ่มแล้ว ทานแค่นี้ก็อร่อยลิ้นแล้วค่ะ

 ส่วนผสม ผัดไทยไชยา

           น้ำผัดไทยไชยา (ตามสูตรด้านล่าง)
           ก๋วยเตี๋ยวเส้นเล็กและเส้นหมี่ (ยี่ห้อที่นิยมคือ ตราดอกบัว)
           ถั่วงอกดิบ หรือกะหล่ำปลีซอย
           ใบกุยช่าย

​6 สูตรผัดไทย
         น้ำผัดไทยไชยา

 ส่วนผสม น้ำผัดไทยไชยา

           น้ำพริกเครื่องก๋วยเตี๋ยว 1 กิโลกรัม (ตามสูตรด้านล่าง)
           หอมแดง 2 กิโลกรัม
           มะขามเปียก 1/2 กิโลกรัม
           กะทิ 4 กิโลกรัม
           น้ำตาลปี๊บอย่างดี 5 กิโลกรัม
           น้ำตาลทราย 1 กิโลกรัม
           กะปิ เล็กน้อย
           เกลือเม็ด เล็กน้อย
           น้ำมันพืช เล็กน้อย

​6 สูตรผัดไทย
          น้ำพริกเครื่องก๋วยเตี๋ยว (สำหรับทำผัดไทยไชยา)

 ส่วนผสม น้ำพริกเครื่องก๋วยเตี๋ยว

           พริกแห้งเม็ดใหญ่ 1 กิโลกรัม
           หอมแดง 3 กิโลกรัม
           เกลือเม็ด เล็กน้อย

 วิธีทำน้ำพริกเครื่องก๋วยเตี๋ยว

           1. ผ่าพริกแห้งแล้วนำเม็ดออก นำไปแช่น้ำจนนิ่ม เตรียมไว้

           2. นำหอมแดงไปแช่น้ำแล้วปอกเปลือกออก (เคล็ดลับ : ถ้านำหอมแดงไปแช่น้ำจะทำให้ปอกง่ายและไม่แสบตา)

           3. ปั่นผสมพริกแห้งที่แช่น้ำจนนิ่มแล้วกับหอมแดง และเกลือเม็ดจนละเอียด เตรียมไว้สำหรับทำน้ำผัดไทย

 วิธีทำน้ำผัดไทยไชยา

           1. ปอกเปลือกหอมแดงออกแล้วนำไปปั่นให้ละเอียด เตรียมไว้

           2. นำมะขามเปียกมาคั้นกับน้ำ เตรียมไว้

           3. ใส่กะทิลงในหม้อ นำขึ้นตั้งไฟไม่ต้องรอให้เดือด ใส่หอมแดงปั่น น้ำมะขามเปียก น้ำตาลปี๊บ น้ำตาลทราย กะปิ และเกลือเม็ดลงไป คนผสมให้ละลายเข้ากัน เคี่ยวจนเดือด ชิมรสตามชอบ (ให้รสชาติหวานนำตามด้วยเปรี้ยว และเค็มตามลำดับ) เคี่ยวต่ออีกสักครู่แล้วปิดไฟ (ไม่ต้องเคี่ยวนานเพราะเดี๋ยวกะทิจะแตกมัน) เตรียมไว้ผัดกับเส้น

 วิธีทำผัดไทยไชยา

           ผัดเส้นก๋วยเตี๋ยว (1 กิโลกรัม) กับน้ำผัดไทย (1.2 กิโลกรัม) *ถ้าน้ำผัดไทยรสชาติเข้มข้นเกินไปให้ใส่น้ำเปล่าเพิ่มลงไป 1 แก้ว ผัดจนเส้นสุก ตักใส่จาน เสิร์ฟพร้อมกับถั่วงอกดิบ และใบกุยช่าย

           ดูวิธีทำเพิ่มเติมได้ที่ ผัดไทยไชยา เส้นเหนียวนุ่มรสเข้มข้น เมนูเด็ดจากแดนใต้

​6 สูตรผัดไทย

 5. ผัดไทยมะละกอ

          เอาใจสาว ๆ ที่กลัวอ้วนกับเมนูผัดไทยมะละกอสูตรจาก คุณบ่งบ๊ง สมาชิกเว็บไซต์พันทิปดอทคอม แปลงร่างมะละกอเป็นเส้นผัดไทยคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงผัดไทย ใส่กุ้งสดตามชอบ ตบท้ายด้วยการห่อด้วยไข่ ว้าว... ท้องเริ่มร้องแล้วจ้า

 ส่วนผสม ผัดไทยมะละกอ

           น้ำมันพืช 3 ช้อนโต๊ะ
           เต้าหู้แข็งทอดหั่นลูกเต๋า 2 ช้อนโต๊ะ
           หอมแดง 1 ช้อนโต๊ะ
           มะละกอสับ 200 กรัม
           หัวไชโป๊หวานสับ หรือหัวไชโป๊เส้น 2  ช้อนโต๊ะ
           กุ้งสด ตามชอบ
           กุ้งแห้ง
           น้ำมะขามเปียก 2 ช้อนโต๊ะ
           น้ำปลา 2 ช้อนโต๊ะ
           น้ำตาลปี๊บเคี่ยว 2 ช้อนโต๊ะ
           พริกป่น 1 ช้อนชา
           ถั่วงอก 200 กรัม
           ใบกุยช่าย (หั่นท่อน) 2 ต้น
           ไข่ไก่ 1 ฟอง
           ถั่วลิสงคั่ว 2 ช้อนโต๊ะ
           น้ำมะนาว
           ผักเคียงตามชอบ อาทิ ถั่วงอก หัวปลี ใบบัวบก ใบกุยช่าย แตงล้าน

 วิธีทำผัดไทยมะละกอ

​6 สูตรผัดไทย

           1. ตั้งกระทะให้ร้อน ใส่น้ำมันพืชลงไป นำเต้าหู้ที่หั่นไว้ลงทอดพอเหลือง ใส่หอมแดงลงผัดให้เนื้อสุกใส

           2. ใส่มะละกอสับและหัวไชโป๊ ตามด้วยกุ้ง (ถ้าชอบกุ้งสุก ๆ ก็ใส่ไปก่อนได้ แต่พวกที่ปลื้มของดิบ ๆ ก็ต้องจัดไปทีหลังสุดนะเจ้าคะ) กุ้งแห้งฝอยที่ให้แคลเซียมไปหน่อยนะคะ ปรุงรสอร่อยด้วยน้ำมะขามเปียก น้ำปลา น้ำตาลปี๊บเคี่ยว ใส่พริกป่นลงไป ผัดจนมะละกอนิ่ม

           3. ใส่ถั่วงอกและใบกุยช่ายลงไป เพราะเราจะทำแบบห่อไข่ ฉะนั้นต้องใส่ผักไปก่อน แต่ไม่ต้องผัดนานนะคะ แค่พอคลุก ๆ เคล้า ๆ ให้ผักสลดก็พอแล้วค่ะ

​6 สูตรผัดไทย
           4. ตีไข่ไก่ในชามแบบทำไข่เจียว แล้วเกลี่ยเส้นไปไว้ข้าง ๆ กระทะ แล้วเทไข่ไก่ลงไป พอไข่สุกเล็กน้อยก็ค่อย ๆ เกลี่ยเส้นมะละกอมาในแผ่นไข่ ไม่ต้องให้ไข่สุกมาก เพราะตัวเส้นมะละกออมความร้อนอยู่แล้ว เกลี่ยลงมาไข่ก็จะสุกขึ้นอีกนะคะ

           5. ตลบไข่ให้ปิดเส้น โรยหน้าด้วยถั่วลิสง ปรุงรสด้วยน้ำมะนาว จัดใส่จาน เสิร์ฟพร้อมผักเคียงต่าง ๆ

           ดูวิธีทำเพิ่มเติมได้ที่ ผัดไทยมะละกอ...อิ่มอร่อยแบบไม่ต้องกลัวอ้วน

​6 สูตรผัดไทย

 6. ผัดไทยมังสวิรัติ

          เอาใจคนไม่อยากทานเนื้อสัตว์ด้วยผัดไทยมังสวิรัติ ส่วนผสมเหมือนผัดไทยธรรมดา ใส่เส้นเล็กคลุกเคล้ากับเครื่องปรุงผัดไทย เสิร์ฟคู่กับหัวปลี ใบบัวบก ถั่วงอกดิบ

 ส่วนผสม ผัดไทยมังสวิรัติ

           ผงปรุงรสเห็ดหอม 1 ช้อนโต๊ะ
           ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนโต๊ะ
           น้ำตาลปี๊บ 1 ช้อนโต๊ะ
           น้ำมะขามเปียก 1 ช้อนโต๊ะ
           น้ำมันพืช 2 ช้อนโต๊ะ
           ก๋วยเตี๋ยวเส้นจันท์ หรือเส้นเล็ก ตามชอบ 100 กรัม
           น้ำซุปผัก 1 ถ้วยตวง
           เต้าหู้เหลืองหั่นชิ้นสี่เหลี่ยมเล็ก 100 กรัม
           ไชโป๊เค็มสับหยาบ 2 ช้อนโต๊ะ
           ถั่วงอกดิบ (เด็ดรากออก) 1 ถ้วยตวง
           ถั่วลิสงคั่วบด 1 ช้อนโต๊ะ
           พริกป่น 1 ช้อนชา
           มะนาวผ่าซีก
           ผักเคียงตามชอบ เช่น หัวปลี ใบบัวบก ถั่วงอกดิบ

 วิธีทำผัดไทยมังสวิรัติ

           1. ใส่ผงปรุงรสเห็ดหอม ซีอิ๊วขาว น้ำตาลปี๊บ และน้ำมะขามเปียกลงในอ่างผสม คนให้เข้ากันจนน้ำตาลปี๊บละลาย

           2. ใส่น้ำมันพืชลงในกระทะ นำขึ้นตั้งไฟอ่อน ใส่เส้นก๋วยเตี๋ยวลงผัด ค่อย ๆ ใส่น้ำซุปผักขณะผัดจนเส้นเริ่มนุ่ม

           3. ใส่เต้าหู้เหลืองลงผัด ตามด้วยส่วนผสมน้ำผัดไทย ผัดจนเข้ากัน ใส่ไชโป๊เค็มและถั่วงอกลงผัดพอสุก ตักขึ้นใส่จาน โรยถั่วลิสงคั่วบดและพริกป่น รับประทานคู่กับผักสดตามชอบ